บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2017

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คำราชาศัพท์

รูปภาพ
คำราชาศัพท์ คําราชาศัพท์  ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบัน  คำราชาศัพท์  หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้ พระมหากษัตริย์  พระบรมวงศานุวงศ์  พระภิกษุ  ขุนนางข้าราชการ  สุภาพชน ที่มาของคำราชาศัพท์ คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ รับมาจากภาษาอื่น ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส  เป็นต้น การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ เครื่องใช้ คำราชาศัพท์ เครื่องใช้ คำราชาศัพท์ เสื้อ รองท้า ของเสวย ที่นอน ม่าน, มุ้ง ถาดน้ำชา คนโทน้ำ ผ้าอาบน้ำ ปืน เข็มขัด ประตู เตียงนอน ผ้าเช็ดตัว ฉลองพระองค์ ฉลองพระบาท เครื่อง พระยี่ภู่ พระวิสูตร พระสูตร ถาดพระสุธารส พระสุวรรณภิงคาร พระภูษาชุบสรง พระแสงปืน รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง พระทวาร พระแท่นบรรทม ซับพระองค์  ผ้าเช็ดหน้า กร

หน่วยการเรียนรู้ที่1 เรื่อง คำสมาส สนธิ

รูปภาพ
คำสมาส คำสนธิ จุดประสงค์ของการเรียน คำสมาส คำสนธิ   1.  เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักคำบาลี คำสันสกฤตมากขึ้น 2.  เพื่อให้นักเรียนรู้จักการนำ คำบาลี คำสันสกฤต มาประสมกัน      ทำให้เกิดคำใหม่ขึ้น 3.  เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความหมายของ คำสมาส คำสนธิ ได้ดีขึ้น 4.  เพื่อให้นักเรียนรู้จักเลือก คำสมาส คำสนธิ มาใช้ในการแต่งประโยค 5.  เพื่อให้นักเรียนเห็นความหลากหลายของภาษาที่ใช้ในภาษาไทย 6.  เพื่อศึกษาให้รู้ถึงความเป็นมาของภาษาไทย 7.  เพื่อศึกษาให้รู้ถึงรากภาษาของคำ 8.  เพื่อศึกษาถึงกฎในการรวมคำของ คำสนธิ และ คำสมาส 9.  เพื่อศึกษาถึงความแตกค่างของ คำสนธิ กับ คำสมาส 10.  เพื่อแสดงถึงความแตกค่างระหว่าง คำสนธิ คำสมาส กับ คำซ้อนและ คำซ้ำ       ที่ผู้คนส่วนใหญ่อาจจะเข้าใจผิด 11.  เพื่อแสดงถึงความแตกต่างของ คำสนธิ คำสมาส กับ คำเขมร ซึ่งบางคำมี       ความคล้ายคลึงกัน 12.  เพื่อเป็นความรู้ในการแยกคำภาษาบาลีออกจากคำภาษาอื่นๆ คำสมาส คำสมาส   คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู